เมื่อวันที่
16 พ.ย. 2017

ป้ายกำกับ
มรย. ภาษามลายู วิจัยร่วม ระยะเวลา 2 ปี

​Dr.sato Hirobumi เข้าพบอธิการบดี เพื่อวิจัยร่วม


Dr.sato Hirobumi ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านภาษามลายู เข้าพบอธิการบดี เพื่อวิจัยร่วมด้านภาษาศาสตร์ ระยะเวลา 2 ปี

วันนี้ (16 พ.ย.60) เวลา13.30 น. ห้องรับรองมูลนิธิ 80 ปี ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ผศ.ดร.สุกินา อาแล ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาและอาเซียนศึกษา นำ Dr.sato Hirobumi จากประเทศญี่ปุ่น และผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านภาษามลายู University of Malaya ประเทศมาเลเซีย เข้าพบ ผศ.ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อพูดคุยด้านวิชาการ เรื่องการทำวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ เป็นระยะเวลา 2 ปี ร่วมกับอาจารย์มะนาวาวี มามะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษามลายู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ทั้งนี้หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู เริ่มเปิดใช้หลักสูตรตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 จนถึงปัจจุบัน ในการวางแผนหลักสูตรนั้นได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและวัฒนธรรมในปัจจุบันที่มีความหลากหลายด้านภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนของประเทศไทย โดยเฉพาะภาษามลายู ซึ่งเป็นภาษาหลักที่ใช้สื่อสารในการดำเนินชีวิต รวมทั้งเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์และบูรไนดารุสซาลาม เป็นต้น

มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลามีความเห็นว่าในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาและมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาษามลายูโดยตรง ได้ให้ความสำคัญโดยให้มี การจัดการเรียนการสอนภาษามลายูขึ้น นอกจากนั้นการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์จำเป็นต้องใช้ภาษาที่เป็นภาษาสากลที่สามารถสื่อสารได้ทั่วโลก เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจและเรียนรู้สังคมและวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมด้านภาษาเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน

ย้อนกลับ