เมื่อวันที่
30 พ.ค. 2022

ป้ายกำกับ

คณะครุศาสตร์ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านอิสลามศึกษา และด้านการศึกษา ครั้งที่ 4


วันนี้(30 พ.ค.65) ที่ ห้องประชุมเซอรา ชั้น 2 อาคารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บญสิทธิ์ ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา เป็นประธานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านอิสลามศึกษา และด้านการศึกษา ครั้งที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ภายใต้หัวข้อ “อิสลามศึกษาและการศึกษาในยุค NEXT NORMAL โอกาสและความท้าทายในการพัฒนามนุษยชาติ” ในรูปแบบกึ่งออนไลน์ ผ่านโปรแกรม ZOOM โดยมี คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้ที่สนใจได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ ในครั้งนี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา คณบดีคณะครุศาสตร์ กล่าวว่า คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษาและการวิจัย โดยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนคณาจารย์ให้มีการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์และนักศึกษาบูรณาการการจัดการเรียนการสอนสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมและการวิจัยด้านอิสลามศึกษาและด้านการศึกษา อีกทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มีการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม ผลงานวิจัย และผลงานวิชาการอื่น ๆ เพื่อเป้าหมายสำคัญในการผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ เกี่ยวกับการสอนอิสลามศึกษา ผลิตและสร้างนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และบูรณาการงานวิจัยกับพันธกิจด้านอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา เป็นศูนย์ให้คำปรึกษาแนะแนวด้านการสอน ศูนย์กลาง จำลองการสอน (Micro teaching) ด้านอิสลามศึกษาและด้านการศึกษา และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการศึกษา ตลอดจนการสร้างและขยายเครือข่ายทางวิชาการด้านการสอนอิสลามศึกษาและด้านการศึกษาทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ สู่การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับโดยสาธารณชน

ทั้งนี้ มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ ซึ่งมีบทความที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อนำเสนอ จำนวนทั้งสิ้น 36 บทความ โดยมีบทบทความระดับชาติ จำนวน 10 บทความ และบทความระดับนานาชาติ จำนวน 26 บทความ เป็นการนำเสนอโดยผู้เข้าร่วมนำเสนอจาก ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศโมร๊อกโก เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรรู้และเกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาต่อยอดงานวิจัย ตลอดจนพัฒนาผลงานทางวิชาการไปสู่ชุมชน อีกทั้งกระตุ้นให้เกิดการพัฒนางานวิชาการที่เข้มแข็ง ยั่งยืน และตอบสนองความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง

ย้อนกลับ