เมื่อวันที่
15 ก.ย. 2023

ป้ายกำกับ

มรย. จัดกิจกรรมติดตามการดำเนินการแก้ปัญหาความยากจน และสร้างโอกาสทางสังคมจังหวัดยะลา


มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมติดตามการดำเนินการแก้ปัญหาความยากจนถอดบทเรียนภายใต้โครงการ “การพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคมจังหวัดยะลา”

เมื่อวันที่ 9-10 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมติดตามการดำเนินการแก้ปัญหาความยากจนถอดบทเรียน ภายใต้โครงการ “การพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคมจังหวัดยะลา” เพื่อถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่จังหวัดยะลาตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา โดยได้เชิญที่ปรึกษโครงการและผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งในพื้นที่และส่วนกลาง มาร่วมรับฟัง แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ให้คำแนะนำ ภายใต้โครงการ “การพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุธศาสตร์เพื่อขจัดความยากจนและสร้างโอกาสทางสังคมจังหวัดยะลา” โดยมีโครงการย่อย หรือ OM ทั้ง 4 โครงการ ประกอบด้วย

- OM 1 นวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจน:เกษตรผสมผสานสู่นักธุรกิจเกษตรแบบสร้างผลตอบแทนโดยรวดเร็วด้วยแนวคิด ( JAPO Model )

- OM2 นวัตกรรมส่งเสริมธุรกิจเกษตรเพื่อยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

- OM3 นวัตกรรมคราฟต์แก้จนเพื่อยกระดับรายได้และส่งเสริมการท่องเที่วชุมชนจังหวัดยะลา

- OM4 นวัตกรรมเกษตรกรรมและงานช่างก่อสร้างสำหรับคนเมือง

ผศ.ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวว่า “สำหรับจังหวัดยะลา ปี 2566 เราก็ขยายผลการทำงานการแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ และแม่นยำ ที่ทำงานร่วมกับหน่อยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท. มา 2 ปี ยกระดับขึ้นมาให้เป็นงาน SRA หรือ Strategic Research Areas ก็คือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์การวิจัยเพื่อการแก้ปัญหาความยากจน จังหวัดยะลา เราเริ่มทำงานมาในช่วงระยะหนึ่ง มีนักวิจัยทั้งหมด 59 คน ซึ่งมาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา แล้วก็วิทยาลัยชุมชน จังหวัดยะลา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เข้ามาทำงานร่วมกัน การทำงานจำเป็นที่จะต้องมาพูดคุยกัน เพื่อที่จะมาถอดบทเรียนร่วมกันว่าเราเริ่มทำงานไปในช่วงแรก เราจะมาดูว่าเรามาถูกทางหรือไม่ หรือว่ายังมีอะไรที่ ยังขาดตกบกพร่อง หรือเป็นข้อจำกัดอยู่ เราก็จะได้เติมเต็มได้ทันแล้วถูกทาง เพื่อให้ทางทีมที่ปรึกษแล้วก็ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งในพื้นที่ และส่วนกลาง เขาได้มาฟัง แล้วก็พวกเราก็ได้มาฟังซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ซึ่งกันและกัน แล้วก็จะได้คุยกันว่า ที่เราทำมาทั้งหมด เราเดินทางมาถูกทางแล้ว แล้วยังมีส่วนไหนที่ยังไม่เรียบร้อยหรือจะต้องเติม เราก็จะได้มาใช้ เวที 2 วันนี้ในการเติมเต็ม ซึ่งกันและกัน”

กิจกรรมติดตามการดำเนินการแก้ปัญหาความยากจนถอดบทเรียน ได้มีเวทีการแลกเปลี่ยนนำเสนอการทำงานบูรณาการร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย ผศ.กิติศักดิ์ ชุมทอง กับหัวข้อพื้นที่ดำเนินงานร่วมกันระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาและ มทร.ศรีวิชัย ด้วยการเรียนรู้การมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี จากนั้นได้มีการนำเสนอ Pro Poor Value Chain ทั้ง 4 OM โครงการย่อย และการให้ข้อเสนอแนะร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาโครงการ และนักวิจัยโครงการ SRA ตลอดจนนักวิชาการเกษตรชำนาญการ

ครั้งนี้มีการแลกเปลี่ยนการทำงาน SRA จังหวัดพัทลุง นำโดย รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ กระบวนการทำงานและผลสำเร็จที่ผ่านในการลงพื้นที่สร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการทำงานโครงการวิจัยจังหวัดพัทลุง การนำเสนอภาพรวมงานข้อมูลครัวเรือนยากจนและระบบ Feedback Loop โดย ผศ.ซอและ เกปัน ตลอดจนการนำเสนอเครื่องมือการติดตามประเมินผลทั้งสองมหาลัย โดยเครื่องมือ Baseline จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และเครื่องมือ ROI จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เพื่อสามารถประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนอย่างยั่งยืน และการบรรยายแนวทางการดำเนินงานภายใต้กรอบแนวคิด งานวิจัยเพื่อส่งเสริมผลผลิตการเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อการแก้ปัญหาความมยากจน โดยคุณวุฒินัย ยุวนานนท์ และคุณมาลินี ยุวนานนท์ โดยการทำงงานที่ต้องเชื่อม เดินคู่ขนานควบคู่ไปกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

ผศ.ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวเพิ่มเติมว่า“หลังจากนี้แล้ว เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่เราทำงานระยะยาว ในระยะ 5 ปี เพราะฉะนั้น ในระยะเริ่มต้น อันดับแรก คือเราต้องขยายผลจากบทเรียนความสำเร็จของงานในปีนี้ เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง จังหวัด จะทำให้การทำงานในปีถัดไป มีความชัดเจนแล้วก็มองไปที่ ความยั่งยืนได้มากยิ่งขึ้น และวันนี้เราได้ถอดบทเรียนกันแล้ว เราต้องนำมาใช้ในการวางแผนร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง ว่าตรง ไหนที่ยังเป็นประเด็นที่ยังเป็นจุดอ่อน ตรงไหนที่ยังต้องเติมเต็ม เราจะได้ไปขยับต่อ แล้วก็เวทีแบบนี้ เราจะ จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันนี้เป็นเวทีเราจัดเฉพาะนักวิจัยแล้วก็ผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ถ้าเป็นในพื้นที่หลังจากวันนี้ เราจะนำไปสู่การจัดเวทีที่เรียกว่า Poverty forum เป็นเวทีที่เราจัดมาอย่างต่อเนื่อง ได้เชิญทุกภาคส่วนในจังหวัดยะลา หรือที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาพูดคุยกัน เอาข้อมูลมาคุยกัน เอาบทเรียน ความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลวก็ได้ หรือว่าแนวทางในการทำงานมาคุยกัน เป็นการถอดบทเรียนจากกลุ่ม นักวิจัยเอง กับผู้ทรงคุณวุฒิ นำไปคุย แล้วก็ถอดบทเรียนร่วมกัน กับพี่น้องประชาชนอีกครั้งหนึ่งในภาพรวม เรียกว่า Poverty forum นั่นคือสิ่งที่จะต้องเดินต่อ และสิ่งที่จะต้องขยับต่อ ก็คือการที่จะช่วยกันมาวางแผนในการจัดทำเรียกว่า แผนบูรณาการการแก้ปัญหาความยากจนภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดยะลา ซึ่งจะต้องมาจากสิ่งที่เราถอดบทเรียนออกไป แล้วก็ไปเชื่อมโยงกับงานที่หน่วยงานทั้งหลาย เขาทำกันอยู่แล้ว แต่เราเข้าไปเติมเต็มแล้วก็เดินคู่ขนานไปกับทุกหน่วยงาน”

กิจกรรมติดตามการดำเนินการแก้ปัญหาความยากจนถอดบทเรียนในครั้งนี้ ได้บทสรุปที่เป็นหัวใจสำคัญในการทำงานพัฒนาเชิงพื้นที่คือ ความจริงใจ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดกับการทำงานให้กับกลุ่มเป้าหมายให้กับพี่น้องประชาชน โดยการทำงานวิจัยมิติใหม่ ไม่ใช่วิจัยเสร็จแล้วขึ้นหิ้งแล้วก็จบ แต่ต้องสร้างเห็นผลลัพธ์อย่างมีรูปธรรม สร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในพื้นที่จริง ๆ ทั้งครัวเรือนเป้าหมาย และพื้นที่ต้องขยับต่อได้ด้วยตัวเอง โดยที่มหาวิทยาลัยก็ยังคงอยู่ แต่จะอยู่ในสถานะของพี่เลี้ยง หรือเพื่อนร่วมทางที่จะคอยหนุนเสริมพื้นที่ไปด้วยกันในเชิงวิชาการต่อไป

ย้อนกลับ