เมื่อวันที่
19 เม.ย. 2024

ป้ายกำกับ

​มรย. จัดงานมหกรรมการแข่งขันว่าวนานาชาติ จังหวัดยะลา "ว่าวบูรงนิบง" ขึ้นครั้งแรกอย่างยิ่งใหญ่


มรย. จัดงานมหกรรมการแข่งขันว่าวนานาชาติ จังหวัดยะลา "ว่าวบูรงนิบง" ขึ้นครั้งแรกอย่างยิ่งใหญ่ ยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนพหุวัฒนธรรม

วันนี้ (19 เม.ย. 67) เวลา 17.00 น มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โครงการวิจัย เรื่อง การยกระดับเศษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนพหุวัฒนธรรม จัดงานมหกรรมการแข่งขันว่าวนานาชาติ จังหวัดยะลา ครั้งที่ ๑ "ว่าวบูรงนิบง" สู่เทศกาลวัฒนธรรมของจังหวัดยะลา ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๑ เมษายน ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑ์เมืองยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยได้รับเกียรติจาก แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมพบปะผู้เข้าร่วมงาน ทั้งนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและมวลชนสัมพันธ์ รักษาราชการแทน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมต้อนรับเป็นเกียรติในงานพร้อมเยี่ยมชมการแข่งขันว่าวนานาชาติ

นายอำพล พงศ์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัฒกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นผู้กล่าวรายงาน และหัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนประชาชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ พิพิธภัณฑ์เมืองยะลา ถนนกรุงแสง ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

โครงการวิจัยการยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนพหุวัฒนธรรม "ว่าวบูรงนิบง" สู่เทศกาลวัฒนธรรมของจังหวัดยะลา ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศีกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ(สอวช.) เพื่อดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบคันและค้นคืนข้อมูล "ว่าว" บนฐานทุนพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ อีกทั้ง เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายการเล่นว่าว "ว่าวบูรงนิบง" อนุรักษ์สืบสาน ผ่านมหกรรมเทศกาลวัฒนธรรมการแข่งขันประกวดว่าวนานาชาติ รวมถึงสร้างกลไกการสนับสนุนจากฐานคุณค่า ทางวัฒนธรรม "ว่าวบูรงนิบง" สู่มหกรรมเทศกาลวัฒนธรรมของจังหวัดยะลา และยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานทุนพหุวัฒนธรรม "ว่าวบูรงนิบง"สู่มหกรรมเทศกาลวัฒนธรรมการแข่งขันประกวด ว่าวนานาชาติ

สำหรับการจัดแข่งขันว่าวนานาชาติ เป็นการจัดขึ้นครั้งแรกซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยผู้เข้าร่วมการแข่งขันว่าว ประกอบด้วย จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา สตูล และตรัง โดยแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ประเภทว่าวขึ้นสูง จำนวน ๑,๒๕๓ ตัว ประเภทว่าวสวยงาม จำนวน ๑๗ ตัว และประเภทความคิดสร้างสรรค์ จำนวน ๑. ตัว รวมทั้งสิ้น ๑,๒๘๐ ตัว นอกจากนี้ยังมีว่าวจากต่างประเทศเข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้ ได้แก่ ประเทศมาเลเชีย จำนวน ๒ ตัว นอกจากนี้ยังมี กิจกรรมการประกวดอนาซีด แบ่งออกเป็น ประเภททีมหญิง และทีมชาย จำนวน ๘ ทีม และมีร้านค้าจากผู้ประกอบการร้านค้า จำนวน ๖ ร้าน และมีการจัดนิทรรสการธัชภูมิ มรย. "คุณค่า เบอร์อามัส สู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมชายแดนใต้"

ย้อนกลับ