​มรย. ร่วมโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบุคลากรเชิงรุกสู่การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย


มรย. ร่วมเปิดโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบุคลากรเชิงรุกสู่การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย “กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” (กลุ่ม 3)

วันนี้ (8 ก.ค. 67) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมเปิดโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบุคลากรเชิงรุกสู่การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย “กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” กิจกรรมโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบุคลากรเชิงรุกสู่การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย “กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” กลุ่ม 3 เป็นการมุ่งพัฒนากำลังคนขั้นสูง ตอบโจทย์ความต้องการในพื้นที่ ทั้งนี้ มุ่งหวังให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีทักษะสูงตอบโจทย์ตลาดแรงงาน เพื่อสังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืนด้วย โดยมี อาจารย์ ดร.สุรเดช สุวรรณชาตรี รองอธิการบดี ฝ่ายบริหาร กิจการสภาและกฎหมาย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าร่วมโครงการ ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ โฮเต็ล ประตูน้ำ กรุงเทพ

นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบุคลากรเชิงรุกสู่การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย “กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” (กลุ่ม 3) กิจกรรมโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบุคลากรเชิงรุกสู่การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย เป็นการมองภาพการบริหารงานบุคคลได้ครอบคลุมทั้งระบบ มีการพัฒนาเชิงพื้นที่และบุคลากรที่ทำงานร่วมกับพื้นที่ เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างระบบให้บุคลากรกลุ่มนี้ได้มีสิทธิประโยชน์เทียบเท่ากับการขับเคลื่อนกำลังคนในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้ง การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูประบบบริหารงานบุคคล ปฏิรูประบบการเงินงบประมาณ ปฏิรูประบบการบริหารเพื่อแก้ไขข้อจำกัดหรือแม้แต่การปฏิรูปเพื่อการพัฒนาระบบธรรมาภิบาล เป็นโจทย์สำคัญว่าสถาบันอุดมศึกษาจะต้องขับเคลื่อนการทำงานอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน มีการเตรียมความพร้อมให้ครบในทุกมิติ มีฝ่ายสนับสนุนที่เข้มแข็ง ดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง โดยกระทรวง อว. มีสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานวิจัยเป็นจำนวนมาก เป็นกำลังซึ่งเป็นแกนหลักในการพัฒนาประเทศ เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ เป็นแหล่งผลิตทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นกลไกด้านการสนับสนุนการแข่งขันของประเทศ ผ่านโครงการต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนในเชิงพื้นที่ ดังนั้น การจัดตั้งโครงการนี้จะดึงเอาระบบการบริหารบุคคลมาพัฒนาก่อน เนื่องจากบุคลากรเป็นกลไกหลักในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม “กระทรวง อว. มุ่งสนับสนุนให้ทุกสถาบันอุดมศึกษา สร้างองค์ความรู้ ขับเคลื่อนการทำงานให้ครอบคลุมทุกมิติ บ่มเพาะให้บุคลากรในสถาบันมีสมรรถนะและประสบการณ์การทำงานจริงในพื้นที่ ในขณะเดียวกัน ควรต้องเพิ่มพูนความรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดรับกับทิศทางและสถานการณ์ประเทศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”

ย้อนกลับ