เมื่อวันที่
1 มี.ค. 2024

ป้ายกำกับ

มรย.ประชุมนำเสนอผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานของสภาสันติสุขตำบลและวิพากษ์สภาสันติสุขตำบล


     วันนี้(1 มี.ค. 67) เวลา 09.30 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  จัดประชุมนำเสนอผลการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานของสภาสันติสุขตำบลและวิพากษ์ผลการประเมินสภาสันติสุขตำบลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ หัวหน้าโครงการ และคณาจารย์ ดำเนินกิจกรรมจัดจ้างที่ปรึกษาประเมินการเป็นตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับตำบล จังหวัดชายแดนภาคใต้ แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2566 ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประธานเปิดการประชุม กล่าวให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมการประชุม ในครั้งนี้

กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้ภาคีเครือข่ายในพื้นที่และนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกันรับฟังข้อมูลผลการดำเนินกิจกรรมจัดจ้างที่ปรึกษาประเมินการเป็นตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับตำบล จังหวัดชายแดนภาคใต้ แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2566 โดยมีส่วนราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนโครงการพื้นที่จังหวัดสงขลา/จังหวัดยะลา/จังหวัดปัตตานี/จังหวัดนราธิวาส ได้แก่ 1.ปลัดจังหวัด 2.นายอำเภอ 3.เกษตรจังหวัด 4.ประมงจังหวัด 5.ปศุสัตว์จังหวัด 6.พัฒนาการจังหวัด 7.ท้องถิ่นจังหวัด 8.ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล 9.ประธานสภาสันติสุขตำบล 10. เสมียนตราอำเภอ 11.ประธานบัณฑิตอาสาฯ ระดับจังหวัด

สำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าวคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขา เช่น สาขาเกษตร สัตวศาสตร์ การบริการจัดการ การตลาด รัฐประสานศาสตร์ และการพัฒนาชุมชน ร่วมดำเนินการลงพื้นที่ประเมิน สภาสันติสุขตำบลทั่วไป ในพื้นที่ 3 จังหวัด (นราธิวาส ปัตตานี และยะลา) และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ จะนะ เทพา นาทวี และ สะบ้าย้อย จำนวนทั้งหมด 282 ตำบล มีการลงพื้นติดตามประเมินผล และให้คำแนะนำแก่สภาสันติสุขตำบล ตั้งแต่ก่อนดำเนินโครงการ ระหว่าง และหลังดำเนินโครงการ ซึ่งการดำเนินโครงการสภาสันติสุขตำบล โดย ศอ.บต. ได้มีแนวทางการสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วน ผ่านกลไกการทำงานของคณะกรรมการสภาสันติสุขตำบล หน่ายงานภาครัฐ ผู้นำท้องถิ่น ประชาสังคม และประชาชนในพื้นที่ มีส่วนร่วมดำเนินงานของสภาสันติสุขตำบล ได้ขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่ตำบลบ้านเกิดของตนเอง ภายใต้ศักยภาพ/ปัญหา ความต้องการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และลดความเหลื่อมล้ำให้แก่ประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

ย้อนกลับ