เมื่อวันที่
9 พ.ค. 2022

ป้ายกำกับ

​รมว.กระทรงอุดมศึกษาฯ ตรวจเยี่ยมและมอบชุดอุปกรณ์จาโปโมเดล แก่กลุ่มเกษตรกร อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี


รมว.กระทรงอุดมศึกษาฯ ตรวจเยี่ยมและมอบชุดอุปกรณ์จาโปโมเดล แก่กลุ่มเกษตรกร อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี

   วันนี้ (8 พ.ค.65) เวลา 08.45 น. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และคณะ ตรวจเยี่ยมฐานการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน พร้อมมอบชุดอุปกรณ์จาโปโมเดล แก่กลุ่มเกษตรกรอำเภอแม่ลาน จำนวน 7 ราย และร่วมเป็นประธานในพิธีทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดปลักปรือ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี โดยมี ล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบาย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงปลัดกระทรวงฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ และแขกผู้มีเกียติ ร่วมต้อนรับ และ ว่าที่ร้อยตรีตระกูล โทธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวต้อนรับ ณ ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี

   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน ตั้งอยู่บนพื้นที่ 201 ไร่ หมู่ที่ 4 ต.แม่ลาน อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี แต่เดิมพื้นที่ตั้งเป็นที่สาธารณประโยชน์ที่สงวนเลี้ยงสัตว์โคกหลา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2538 ได้เข้าขอใช้ประโยชน์ในพื้นที่ และต่อมาได้ยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏยะลา วิทยาเขตแม่ลาน ในช่วงปี พ.ศ. 2547 เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจารย์ไม่สามารถเข้ามาสอนยังวิทยาเขตแม่ลาน ปี พ.ศ. 2556 โดย ผศ. ดร. สมบัติ โยธาทิพย์ ได้มีให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้แม่ลานอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดสรรทั้งงบประมาณและกำลังคนในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันศูนย์การเรียนรู้แม่ลานฯ เป็นแหล่งการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและปฏิบัติของนักศึกษาหลักสูตรเกษตรศาสตร์และสัตวศาสตร์ และบริการวิชาการสู่ประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

   สำหรับโครงการ (JAPO Model) พัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือเป็นหนึ่งในโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ สามารถลดความเหลี่ยมล้ำ โดยการสร้างทัศนคติเชิงบวกให้เห็นผลเชิงประจักษ์ ได้แก่นวัตกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจน (JAPO Model) เกษตรผสมผสาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยการบูรณาศาสตร์/องค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในการพัฒนาทักษะอาชีพ และศักยภาพทุนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ในพื้นที่ โดยอาศัยกลไกการสร้างกระบวนการเรียนรู้และแรงจูงใจให้แก่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย และมีการติดตามประเมินผลการพัฒนาทักษะอาชีพ ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จ และความล้มเหลว ผลจากการพัฒนาทักษาอาชีพเชิงเดี่ยว เพื่อปิดจุดอ่อน สู่การสร้างทัศนคติเชิงบวกฝึกทักษะเกษตรแบบผสมผสาน ความยากจนได้พัฒนานวัตกรรมต้นแบบที่ใช้ลดความเหลี่ยมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ย้อนกลับ