เมื่อวันที่
12 พ.ค. 2022

ป้ายกำกับ

อธิการบดี มรย. เป็นประธานเปิดกิจกรรมพัฒนาระบบและกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่


วันนี้ (12 พ.ค. 65) เวลา 09.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานเปิดกิจกรรมพัฒนาระบบและกลไกความร่วมมือระดับพื้นที่ เรื่อง แนวทางการแก้ปัญหาความยากจนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน จังหวัดยะลา ภายใต้โครงการ “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดยะลา” โดยมีผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยะลา นักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และผู้แขกผู้มีเกียรติเข้าร่วม ณ ห้องประชุมกังสดาล ชั้น 2 โรงแรมยะลาแกรนด์พาเลซ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเข้าไปดำเนินการแก้ปัญหาความยากจนภายใต้ โครงกรวิจัยงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดยะลาซึ่งสนับสนุนโดยหน่วยงาน บพท. โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือนระดับจังหวัดยะลาที่เกิดจากการบูรณาการข้อมูลจากทุกหน่วยงาน รวมทั้งการพัฒนาระบบและโครงสร้างการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน, เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดยะลา, เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ครอบคลุมทุกมิติแบบองค์รวมเพื่อให้กลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางและให้ครอบครัวมั่นคงมีความสุข สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และเพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐสถาบันวิชาการภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคนจนเป้าหมายให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะ และหาแนวทางในการปรับปรุงเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการดำรงชีพให้เอื้อต่อการสร้างหรือเพิ่มรายได้ เพื่อให้คนจนเป้าหมายสามารถดูแลตัวเองและครอบครัวได้อย่างมั่นคง

ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้เรียนเชิญบุคคลในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล 2 อำเภอนำร่อง คือ อำเภอบันนังสตา และอำเภอรามัน จังหวัดยะลา รวมทั้งหมด 4,424 ครัวเรือน 18,839 คน และมีการเก็บข้อมูลครัวเรือนเพิ่มเติมอีก 2 อำเภอ คือ อำเภอยะหา และอำเภอกาบังรวมเป็น 4 อำเภอ จำนวน 5,028 ครัวเรือน จำนวนสมาชิก 21,403 คน มีการพัฒนาระบบและกลไกการส่งต่อความช่วยเหลือ สำรวจพบผู้ยากลำบากจังหวัดยะลาที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนเป็นข้อมูลครัวเรือนยากจนวิกฤต จำนวน 7 ครัวเรือน และกำลังดำเนินการส่งต่อครัวเรือนยากจนเพิ่มอีก 8 ครัวเรือน ผ่านศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดยะลา มีการวิเคราะห์บริบทของพื้นที่เพื่อออกแบบนวัตกรรมแก้จน (Operating model Pilot project) ที่สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมายจากปัญหาคนจนและทุน 5 ด้าน เพื่อออกแบบนวัตกรรมแก้จนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ที่มีทุนต้านต่างๆ ที่สูงและต่ำ รวมทั้งวิเคราะห์กรอบการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (SLF) ในอำเภอนำร่อง 2 อำเภอ 3 ตำบลนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมโมเดลแก้จน 3 นวัตกรรม ประกอบด้วย 1) ตำบลอาช่อง อำเภอรามันจังหวัดยะลา นวัตกรรมการยกระดับเกษตรแบบผสมผสาน (JAPO Model) นำร่อง 14 ครัวเรือนเป้าหมาย 142 ครัวเรือน 2) ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา นวัตกรรมส่งเสริมธุรกิจเกษตรริมฝั่งแม่น้ำ นำร่อง 38 ครัวเรือน เป้าหมาย 391 ครัวเรือน และ 3) ตำบลกอตอตือร๊ะอำเภอรามัน จังหวัดยะลา นวัตกรรมส่งเสริมอาชีพเพื่อการดำรงชีพและเชิงพาณิชย์ นำร่อง 39 ครัวเรือน เป้าหมาย 381 ครัวเรือน ซึ่งเดือน 1 - 4 นำร่อง 91 ครัวเรือน และเดือน 5 – 12 นำร่อง 500 ครัวเรือน และได้มีการถอดบทเรียนตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ 1 ปี ที่ผ่านมา (14 พฤษภาคม 2564 - 14 พฤษภาคม 2565) ทั้งนี้อยู่ในช่วงการเตรียมการดำเนินงานโครงการในระยะที่ 2 ปี 2565 ต่อไป

ย้อนกลับ