นักวิชาการฯ มรย. ชี้ สว. ชุดใหม่ มาจากหลายสาขาอาชีพ ประชาชนคาดหวังแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


นักวิชาการฯ มรย. ชี้ สว. ชุดใหม่ มาจากหลายสาขาอาชีพ ประชาชนคาดหวังแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

หลังจากพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา หรือ สว. ปี 2567 มีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 11 พ.ค.67 ที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้สรุปวันเปิดรับ "สมัครเลือก สว." ชุดใหม่ จำนวน 200 คน โดยเปิดรับสมัคร สว. ในวันที่ 20-24 พ.ค.67 เข้าสู่กระบวนการเลือกแบบไต่ระดับ วันที่ 9 มิ.ย.67 เลือก สว. : ระดับอำเภอ วันที่ 16 มิ.ย.67 เลือก สว. : ระดับจังหวัด วันที่ 26 มิ.ย.67 เลือก สว. : ระดับประเทศ วันที่ 2 ก.ค.67 วันประกาศผล นั้น

ทางด้าน ผศ.นินุสรา นทราศักดิ์ อาจารย์สาขาการปกครองและกฎหมายมหาชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวในเรื่องของการลงสมัครสมาชิกวุฒิสภา(สว.)ในครั้งนี้ว่า ทางศูนย์นี้ก็ คือมีหน้าที่มอบอำนาจ 3 หลักการใหญ่ๆ ก็คือ 1.ในเรื่องของการกลั่นกรองกฏหมาย หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่างๆก็จะต้องผ่านสภาวุฒิสภาตรงนี้ 2.ในเรื่องของที่ สว. (สมาชิกวุฒิสภา)สามารถเข้าไปเป็นกรรมาธิการหรือมีประเด็นต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่หรือมีประเด็นปัญหาในสังคม สว.ก็สามารถมีอำนาจหน้าที่ตรงนั้น และ 3.ในเรื่องของการให้อำนาจในการแต่งตั้ง องค์กรสมาชิกองค์กรอิสระ ป.ป.ช.(คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)หรือตุลาการต่างๆนี่คือหน้าที่หลักจะเห็นได้ว่าแตกต่างจากเฉพาะการที่ผ่านมาว่า สว. (สมาชิกวุฒิสภา) มีสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรี ถ้าถามว่าถ้าเลือกตั้งคราวนี้ สว. (สมาชิกวุฒิสภา) ผู้ได้รับเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเลือกไปจะช่วยในเรื่องของการแก้ไขปัญหาในพื้นที่หรือเอาตรงๆในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่ ต้องถามก่อนว่าผู้ทรงคุณวุฒิที่เลือกเนี่ยมาจากหลากหลายสาขาอาชีพแน่นอนว่าอาชีพต่างๆ เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละอาชีพ ถามว่าภาคใต้มีปัญหาในเรื่องอะไร สว. (สมาชิกวุฒิสภา) สามารถแก้ปัญหาได้ไหมในเรื่องของเกษตรกรรมในพื้นที่ พืช ผลไม้ที่สามารถส่งออกอะไรอย่างนี้กรรมาธิการ สว. (สมาชิกวุฒิสภา) ผู้ที่เป็นเชี่ยวชาญทางด้านการเกษตรก็สามารถจะมาดำรงตำแหน่งในของกรรมาธิการเพื่อขับเคลื่อนผลักดันเชิงพื้นที่ได้เช่นเดียวกัน ส่วนในเรื่องของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ เชื่อว่าการแก้ปัญหาการขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มันไม่ได้ต้องการผู้เชี่ยวชาญในแต่ละอาชีพใดอาชีพหนึ่ง แต่ต้องมีการช่วยเหลือหรือมีการความร่วมมือกันทุกหลากหลายสาขาอาชีพทั้งในด้านของสื่อ ทั้งในด้านของเศรษฐกิจในด้านของวิชาการหรือในด้านของภาคประชาสังคม ประชาสังคมที่มีความสำคัญมากในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะฉะนั้นถ้าเราได้ตัวแทนจากคนกลุ่มนี้มันก็มีโอกาสที่ สว. (สมาชิกวุฒิสภา) จะใช้ศักยภาพของตนเองในการที่ขับเคลื่อนผ่านกระบวนการแต่งตั้งกรรมาธิการต่างๆไปในการแก้ปัญหาประเด็นต่างๆ ในพื้นที่ เพราะฉะนั้นถ้ามุมมองว่า สว. (สมาชิกวุฒิสภา) จะช่วยแก้ปัญหาประชาชนไหมมองในเชิงประเด็นแต่ละประเด็นในความเชี่ยวชาญของสมาชิกวุฒิสภาที่จะได้รับเลือก

Click View or Download